วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2563

แนะนำการเลือกรูปแบบของการทำธุรกิจ



เริ่มต้นเราจะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับรูปแบบของการทำธุรกิจ SME ในบ้านเรากันนะค่ะ จะสังเกตุได้ว่าน้องๆ รุ่นใหม่ๆ ก็จะผันตัวเองมาทำธุรกิจต่างๆกันมากมาย อาจจะเริ่มจากการทำงานประจำและหาลู่ทางการเพิ่มรายได้พิเศษจากรายได้ประจำที่ได้รับ 

ทำให้บางคนค้นพบแหล่งรายได้ใหม่ที่ดีกว่าเดิม จากรายได้เสริมเปลี่ยนมาเป็นรายได้หลักแทนที่กันเลยทีเดียวค่ะ ดังนั้นเมื่อเกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้นก็ต้องมีการวางแผนเรื่องการเติบโตและการรักษาไว้ควบคู่กัน 

ซึ่งหน้าที่ของประชาชนคนไทยอย่างที่ทราบกันเมื่อคุณมีรายได้ก็ต้องมีการเสียภาษีคืนให้กลับประเทศ ดังนั้นเราจึงต้องมีการวางแผนภาษีที่ดี และอีกหนึ่งเหตุผลคือ เพื่อความน่าเชื่อถือที่คนทำธุรกิจทุกคนจะต้องมามองรูปแบบของการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

รูปแบบการจดทะเบียนของธุรกิจ SME

บุคคลธรรมดา 👉 เจ้าของคนเดียว มีความคล่องตัวสูงในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ 

นิติบุคคล👉มีหุ้นส่วนในการร่วมตัดสินใจ มีการวางแผนภาษีเพื่อการลดหย่อนต่างๆ มีความน่าเชื่อถือในการทำธุรกิจ ทั้งกับคู่ค้า และสถาบันการเงิน

นิติบุคคลสำหรับธุรกิจ SME มี 2 ประเภท คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด
😄พี่เติ้ลมีคลิปหนึ่งมาแนะนำให้น้องๆได้ดูกันค่ะ ยังงัยดูกันให้จบนะค่ะ ดีจริงๆค่ะ👍👍
ภาษีจะไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป.....




เรามาดูข้อดีข้อเสียของรูปแบบธุรกิจแต่ละประเภทกันค่ะ

1.ความรับผิดชอบ
- ผู้ถือหุ้นในบริษัทจะรับผิดชอบเพียงมูลค่าหุ้นที่ถือหรือค้างชำระเท่านั้น
- หุ้นส่วนผู้จัดการ (เจ้าของผู้มีอำนาจลงนาม) ของห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัด
- สำหรับร้านค้าเจ้าของรับผิดในหนี้สินเต็มจำนวนเพียงผู้เดียว

2.ค่าธรรมเนียมราชการในการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ
- บริษัทจำกัด ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้าน 6,360 บาท
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้าน 1,460 บาท
- ทะเบียนพาณิชย์ ไม่ระบุ 50 บาท

3.ความน่าเชื่อถือ
- บริษัทเป็นรูปแบบที่น่าเชื่อถือและได้รับความนิยมมากที่สุด
- ห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยม จดทะเบียนง่าย ค่าใช้จ่ายน้อย
- ร้านค้าทะเบียนพาณิชย์ การจัดตั้งไม่มีอะไรยุ่งยาก เหมาะสำหรับร้านค้าขนาดเล็ก

4.การทำบัญชีและการเสียภาษีธุรกิจ
- บริษัทและห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องทำบัญชีและเก็บเอกสารบัญชีตามกฎหมาย เหมือนกัน
- ร้านค้าทะเบียนพาณิชย์ไม่ต้องทำบัญชี แต่สรรพากรบังคับทำสต๊อกสินค้า
- ทั้ง3รูปแบบต้องยื่นภาษีเงินได้ปีละ 2 ครั้ง เหมือนกัน (ครึ่งปีและประจำปี)


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

คลิกเพิ่มเพื่อนด้วยคิวอาร์โค้ด


ตัวอย่างตราห้างหุ้นส่วนและตราประทับบริษัท

                                               ...