วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2563

ธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)



กิจการที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

1. ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มการขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

2. การขายพืชผลทางการเกษตรภายในราชอาณาจักร เช่น ข้าว ข้าวโพด ปอ มันสำปะหลัง ผักและผลไม้ เป็นต้น (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป .28/2535ฯ)

3. การขายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตหรือไม่ชีวิตภายในราชอาณาจักร เช่น โค กระบือ ไก่หรือเนื้อสัตว์ กุ้ง ปลา เป็นต้น (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.29/2535ฯ)

4. การขายปุ๋ย

5. การขายปลาป่น อาหารสัตว์

6. การขายยา หรือ เคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืช หรือ สัตว์ เพื่อบำรุงรักษาป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์

7. การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือ ตำราเรียน

8. การนำเข้าสินค้าตาม 2. ถึง 7.

9. การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน

10. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำหรือทางอากาศ อย่างไรก็ดี หากเป็นการให้บริการขนส่งโดยอากาศยาน และการให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ ผู้ประกอบการมีสิทธิเลือกเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้

11. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศทางบกและทางเรือซึ่งมิใช่เรือเดินทะเล

12. การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลทางราชการและเอกชน

13. การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์

14. การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น

15. การให้บริการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ

16 .การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ

17. การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรม ในสาขาและลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

18. การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ซึ่งต้องมีลักษณะการประกอบกิจการตามที่กรมสรรพากรกำหนด คือ ต้องเป็นการวิจัยหรือบริการทางวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์และสาขาสังคมศาสตร์ แต่ต้องมิใช่เป็นการกระทำในทางธุรกิจ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือมูลนิธิ

19. การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน

20. การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์

21. การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ไม่รวมถึงบริการที่เป็นการพาณิชย์ของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นการหารายได้ หรือผลประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นกิจการสาธารณูปโภคหรือไม่ก็ตาม

22. การขายสินค้าหรือการให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย

23. การขายสินค้าหรือการให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการสาธารณกุศลภายในประเทศ ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น

24. การบริจาคสินค้าให้แก่สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราชการ หรือให้แก่องค์การหรือสถานสาธารณกุศล หรือสถานพยาบาลและสถานศึกษาอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

25. การขายบุหรี่ซิกาแรต ที่ผลิตโดยโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ซึ่งผู้ขายเป็นบุคคลอื่นที่มิใช่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง

26. การขายสลากกินแบ่งของรัฐบาล สลากออมสินของรัฐบาล และสลากบำรุงสภา-กาชาดไทย

27. การขายแสตมป์ไปรษณีย์ แสตมป์อากร หรือแสตมป์อื่นของรัฐบาล องค์การของรัฐบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เฉพาะที่ยังไม่ได้ใช้ในราคาที่ไม่เกินมูลค่าที่ตราไว้

28. การให้บริการสีข้าว

** ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการตาม 1. ถึง 7. ดังกล่าว จะเลือกเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 

 
 
 

วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2563

ข้อควรรู้เกี่ยวกับธุรกิจ รับเหมาก่อสร้าง ขายสินค้า ร้านอาหาร บริการ


" ข้อควรรู้เบื้องต้นของธุรกิจจดทะเบียนบริษัท "
รับเหมาก่อสร้าง/ขายสินค้า/ร้านอาหาร/งานบริการ 


1. ผู้ประกอบกิจการมีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการ กรณีที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านต่อปี ต้องทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภายใน 30 วันนับจากวันที่รายได้ถึงเกณฑ์

2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ที่มีแผนการหรือการเตรียมการ ในการต้องมีการสั่งซื้อสินค้าสำหรับการขาย หรือการก่อสร้างอาคาร การสั่งซื้อ ติดตั้งเครื่องจักร

3. ผู้ประกอบการจดบริษัทรับเหมาก่อสร้าง และงานบริการ จะถูกผู้จ่ายเงินหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 (ปัจจุบันกรมสรรพากรลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายอัตรา 3% เหลืออัตรา 1.5% ตามมาตรการเยียวยาผลกระทบจาก COVID-19 สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ถึง 30 ก.ย. 2563)

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2563

ขนส่ง!! ธุรกิจที่เกิดโอกาสในภาวะวิกฤตโคโรน่า-19


   ในปัจุบันธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้ามีการเติบโตเรื่อยมา เป็นไปในทิศทางที่ดีตลอด  หลักการง่ายๆสำหรับธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้าก็คือ......ที่ไหนมีคนคนก็ต้องกินต้องใช้ เมื่อมีการต้องกินต้องใช้ ก็ต้องมีการขนส่ง ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงในแต่ละส่วนเป็นทอดๆตามกันมา ซึ่งเส้นทางการขนถ่ายสินค้าจะขยายไปตามสถานที่เมืองสู่ชุมชน 

    ยิ่งในขณะนี้ประเทศต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤตของโรคระบาดอย่างเจ้า 👉👉👉ไวรัสโคโรน่า-19 ด้วยแล้ว ในวิกฤตแบบนี้ยังเป็นโอกาสที่ดีให้กับธุรกิจประเภทขนส่งอย่างมาก เพราะทุกคนไม่สามารถเดินทาง หรือต้องลดการเดินทางลงอย่างเห็นได้ชัด ยิ่ง บวกกับเทคโนโลยีที่สร้างแอพพลิเคชั่นให้สะดวกและง่ายในการสั่งสินค้าส่งต่อห่วงโซ่รายได้ไปสู่ธุรกิจขนส่ง

ดังนั้นเราควรเติบโตอย่างมีระบบเพื่อก้าวสู่ความเป็นมืออาชีพได้อย่างมั่นคง มีลูกค้าหลายท่านถามว่ายากมั้ย ทำอย่างไร เรามาดูขั้นตอนและเอกสารที่เกี่ยวข้องในการจดทะเบียนจัดตั้งหจก.ขนส่งกันนะค่ะ  "บริการมืออาชีพในราคาเหมาจ่ายเพียง 6,000 บาท!! "

ขั้นตอนการจดทะเบียนจัดตั้งหจก.
1.จองชื่อในเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า DBD
2.ส่งข้อมูลและจัดทำเอกสาร
3.นัดเซ็นเอกสาร
4.ดำเนินการจดทะเบียน
5.ส่งคืนเอกสาร

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนหจก.ขนส่ง🚚🚚🚚
1. สำเนาบัตรประชาชนหุ้นส่วนจำนวน 2 ท่าน
2. สำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นที่ตั้งของหจก. 
3. แผนที่ตั้ง

บริการของเราดำเนินการให้ตั้งแต่ การจองชื่อ การจัดทำเอกสาร และรับมอบอำนาจไปดำเนินการจดทะเบียนให้ที่พาณิชย์จังหวัด เพียงแค่ท่านส่งข้อมูลให้ทางเรา โทร.ปรึกษาก่อนการตัดสินใจ สายตรงได้ที่เติ้ลเลยนะค่ะ 090 127 0586 Line ID : suptle.t



ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเรา







ตัวอย่างตราห้างหุ้นส่วนและตราประทับบริษัท

                                               ...